วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ภาษาถิ่นเเละวัฒนธรรมถิ่น

                   


              ภาษาถิ่น ป็นภาษาย่อยที่ใช้พูดจากันในท้องถิ่นต่าง ๆ  ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมาย  ความเข้าใจกันระหว่างผู้คนที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นนั้น ๆ   ซึ่งอาจจะแตกต่างไปจากมาตรฐาน หรือภาษาที่คนส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศใช้กัน  และอาจจะแตกต่างจากภาษาในท้องถิ่นอื่นทั้งทางด้านเสียง คำและ การใช้คำ  ภาษาถิ่น ภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ ทั้งถ้อยคำ
และสำเนียง  ภาษาถิ่นจะแสดงถึงเอกลักษณ์  ลักษณะความเป็นอยู่  และวิถีชีวิตของผู้คน ในท้องถิ่นของแต่ละภาค ของประเทศไทย  บางทีเรียกว่า ภาษาท้องถิ่น   และหากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย  และมีภาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก   เช่นภาษาถิ่นใต้  ก็มีภาษาสงฃลา  ภาษานคร  ภาษาตากใบ  ภาษาสุราษฎร์  เป็นต้น   ภาษาถิ่นทุกภาษาเป็นภาษาที่สำคัญในสังคมไทย เป็นภาษาที่บันทึกเรื่องราว ประสบการณ์ และวัฒนธรรมทุกแขนงของท้องถิ่น เราจึงควรรักษาภาษาถิ่นทุกถิ่นไว้ใช้ให้ถูกต้อง เพื่อเป็นสมบัติมรดกของชาติต่อไป  ซึ่งภาษาถิ่นจะเป็นภาษาพูด  หรือภาษาท่าทางมากกว่าภาษาเขียนภาษาถิ่นของไทยจะแบ่งตาม ภูมิศาสตร์หรือท้องถิ่นที่ผู้พูดภาษา นั้นอาศัยอยู่ในภาค ต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 4  ถิ่นใหญ่ ๆ  คือ ภาษาถิ่นกลาง  ภาษาถิ่นเหนือ  ภาษาถิ่นอีสานและ ภาษาถิ่นใต้

ภาษาถิ่นกลาง
                       ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี  
นครปฐม  อ่างทอง   และพระนครศรีอยุธยา  เป็นต้น  ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดเหล่านี้  มีสำเนียงพูดที่แตกต่างกันออกไป  จะมีลักษณะเพี้ยนเสียงไปจากภาษากลางที่เป็นภาษามาตรฐาน 



ภาษาถิ่นเหนือ


                   หรือภาษาถิ่นพายัพ (คำเมือง)  ได้แก่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม  มักจะพูดกันมากในจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา ลำปาง น่าน ลำพูนตาก แพร่  เป็นต้น



                                                                     



ตัวอย่างคำในภาษาถิ่นเหนือ

คำ
ความหมาย
คำ
ความหมาย
กิ๋น
กิน
กาด
ตลาด
กาดมั่ว
ตลาดเช้า
กาดแลง
ตลาดเย็น
กะเลิบ
กระเป๋า
เกือก
รองเท้า
เกี้ยด
เครียด
ขนาด
มาก
ขี้จุ๊
โกหก
ขี้ลัก
ขี้ขโมย
เข
บังคับ
ขัว
สะพาน
คุ้ม
วัง
เคียด
โกรธ
ง่าว
โง่
จั๊ดนัก
มาก
จ้อง, กางจ้อง
ร่ม, กางร่ม
เชียง
เมือง
ตุง
ธง
ตุ๊เจ้า
พระ
เต้า
เท่า
เตี่ยว, ผ้าเตี่ยว
กางเกง
บะเขือส้ม
มะเขือเทศ
บะกล้วยแต้ด
มะละกอ
ป้อ
พ่อ
ปิ๊ก
กลับ
ไผ
ใคร
ผ้าหัว
ผ้าขาวม้า
ม่วน
สนุก
เมื่อย
เป็นไข้, ไม่สบาย
เยียะ
ทำ
ละอ่อน
เด็ก
ลำ
อร่อย
สึ่งตึง
ซื่อบื้อ
หัน
เห็น
หื้อ
ให้
อุ๊ย
คนแก่
แอ่ว
เที่ยว
ฮัก
รัก
ฮู้
รู้

        ภาษาถิ่นอีสาน


 อีสาน   ภาษาถิ่นอีสานของประเทศไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาที่พูดที่ใช้กันในประเทศลาว แต่ภาษาอีสานก็ยังถือว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาไทย ภาษาถิ่นอีสานมีภาษาถิ่นย่อยหลายภาษา  ได้แก่  ภาษาที่ชนกลุ่มใหญ่ในภาคอีสานใช้พูดจากัน  ซึ่งใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคอีสาน  หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สกลนคร หนองคาย นครพนม ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด  เลย  ชัยภูมิ  มหาสารคาม กาฬสินธุ์ เป็นต้น
                                                                               


ตัวอย่างคำในภาษาถิ่นอีสาน

คำ
ความหมาย
คำ
ความหมาย
กะปอม
กิ้งก่า
กะต้า
ตะกร้า
เกิบ
รองเท้า
ข่อย
ฉัน, ผม
ข้อง
ติด, คา
คึดฮอด
คิดถึง
จังซั่น
อย่างนั้น
จังซี่
อย่างนี้
จังได๋
อย่างไร
จั๊ก
รู้
จ้อย
ผอม
จือ, จือจำ
จำ, จดจำ
แซบอีหลี
อร่อยจริง ๆ
เซา
หยุด
ซวด ๆ
ปรบมือ
โดน
นาน
ด๊ะดาด
มากมาย
ตั๊วะ
โกหก
แถน
เทวดา
เทื่อ
ที, หน, ครั้ง
ท่ง
ทุ่ง
ทางเทิง
ข้างบน
เบิ่ง
ดู
บักเสี่ยว
เพื่อนเกลอ
บักหุ่ง
มะละกอ
บักสีดา
ฝรั่ง
ผู้ใด๋
ใคร
ฟ้าฮ่วน
ฟ้าร้อง
ม่วน, ม่วนหลาย
สนุก, สนุกมาก
แม่น
ใช่
ย่าง
เดิน
ยามแลง
เวลาค่ำ
แลนหนี
วิ่งหนี
เว้าซื่อ ๆ
พูดตรงไปตรงมา
หนหวย
หงุดหงิด
อ้าย
พี่
เฮ็ด, เฮ็ดเวียด
ทำ, ทำงาน
ฮอด, เถิง, คิดฮอด
ถึง, คิดถึง

                                              
                    ภาษาถิ่นใต้

                  ภาษาถิ่นใต้  ได้แก่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใต้ของประเทศไทย ลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย รวม  14  จังหวัด เช่น ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช  เป็นต้น และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ภาษาถิ่นใต้   ยังมีภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เป็นภาษาถิ่นใต้ ภาคตะวันออก  เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช  พัทลุง สงขลา  ปัตตานี  ตรัง  สตูล   ภาษาถิ่นใต้ตะวันตก  เช่น  ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดกระบี่  พังงา  ระนอง  สุราษฎร์ธานีและชุมพร  และภาษาถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห  เช่น  ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดนราธิวาส และ  ปัตตานี    ในแต่ละภาคก็จะมีภาษาถิ่นใต้ เป็นภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เช่น  ภาษาถิ่นระนอง ภาษาถิ่นภูเก็ต 
                                                                
                                                           
ตัวอย่างคำในภาษาถิ่นใต้
คำ
ความหมาย
คำ
ความหมาย
กุบกั่บ
รีบร้อน
กางหลาง
เกะกะ
แกล้ง
ตั้งใจทำ
โกปี้
กาแฟ
ข้องใจ
คิดถึง, เป็นห่วง
ขี้หมิ้น
ขมิ้น
ขี้ชิด
ขี้เหนียว
แขบ
รีบ
ขี้หก, ขี้เท็จ
โกหก
แขว็ก
แคะ
เคร่า
คอย, รอคอย
เคย
กะปิ
ไคร้
ตะไคร้
ครกเบือ
ครก
คง
ข้าวโพด
งูบองหลา
งูจงอาง
ฉ่าหิ้ว
ตะกร้า
ชันชี
สัญญา
เชียก
เชือก
ตอเบา
ผักกระถิน
แตงจีน
แตงโม
โตน
น้ำตก
ตาล่อ, หาจก, ตาอยาก
โลภมาก,อยากได้
ต่อเช้า
พรุ่งนี้
แต่วา
เมื่อวาน
น้ำเต้า
ฟักทอง
น้ำชุบ
น้ำพริก
เนียน
ละเอียด, ไม่หยาบ
เนือย
หิว, อ่อนแรง
ดีปลี,ลูกเผ็ด
พริก
เปรว
ป่าช้า
ผักแหวน
ใบบัวบก
พุงปลา
ไตปลา
พาโหม
กะพังโหม
ยิก
ไล่
ลอกอ
มะละกอ
ลกลัก
เร่งรีบ,ลนลาน
ลาต้า
อาการบ้าจี้
แลกเดียว
เมื่อตะกี้
ลูกปาด
ลูกเขียด
สากเบือ
สาก
ส้มนาว
มะนาว
หวันมุ้งมิ้ง
โพล้เพล้
หยบ
ซ่อน,แอบ
หล่าว
อีกแล้ว
หลบบ้าน
กลับบ้าน
หัว
หัวเราะ
หวังเหวิด
กังวล,เป็นห่วง
หย่านัด
สับปะรด
หย้ามู้, ยาหมู่,ชมโพ่
ฝรั่ง
หรอย
อร่อย
อยาก
หิว




                  ภาษาถิ่นตะวันออก

ภาษาถิ่นตะวันออกว่าเป็นภาษาย่อย ที่ใช่พูดจากัน ในท้องถิ่นตะวันออกมี ระยอง จันทบุรี ตราด เป็นต้น




ตัวอย่างคำในภาษาถิ่นตะวันออก
คำ
ความหมาย
คำ
ความหมาย
กะแต่ง
ผักที่มีลักษณะคล้ายบุกแต่เล็กกว่า
เกียน
เกวียน
คุน,แมะ
ยาย
ตะโงน
ตะโกน
พอแรง
มาก
โพง
กระป๋องตักน้ำ
นักนั่ก
มากมาย,เยอะแยะ
ธุ
ไหว้
สงาด
เยอะ, มากมาย
สนุกซ้ะ
สนุกมาก
สะหม่า
ประหม่า
สารพี
ทัพพี
สีละมัน
ลิ้นจี่ป่า
หวด
กิน
หาบ
แบก
ลุ้ย, หลัว
เข่ง
อีโป้
ผ้าขาวม้า
อีแหวก
แมงกะชอน
เอ๊าะ
สาวรุ่น
ฮิ
คำสร้อย
อ๊อกอ้อ
ตุ๊กแก
เอี๊ยว
อ่อน



              วัฒนธรรมถิ่น

               มนุษย์อยู่เพียงลำพังคนเดียวได้ จำเป็นต้องอยู่รวมกลุ่มกันเพื่อที่จะพึ่งพาอาศัยและช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน ครั้นเมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากแล้ว ก็ต้องมีข้อกำหนด กฏเกณฑ์ เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุก และได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นกฏหมายในที่สุด ขณะที่อีกด้านเป็น ระเบียบแบบแผนการปฏิบัติที่สังคมยอมรับว่าดี ว่าถูกต้อง โดยไม่ได้เป็นการบังคับ แต่เป็นการสมัครใจ ทำและยอมรับปฏิบัติกันเรื่อยมา นั่นคือ สิ่งที่เรียกว่า วัฒนธรรม ซึ่งมนุษย์ได้สร้างวัฒนธรรม ขึ้นเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิต และการอยู่ร่วมกันในสังคม
    ดังนั้น “วัฒนธรรม” จึงเป็นแบบแผนประพฤติปฏิบัติ และได้แแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิด ในสถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมสามารถเข้าใจและซาบซึ้งร่วมกัน โดยเมื่อกล่าวจำเพาะลงไป ในเนื้อหาที่เป็นเฉพาะแต่วัฒนธรรมพื้นบ้าน ก็จะได้อิงกับความหมายของวัฒธรรมในภาพรวม แม้วัฒนธรรมพื้นบ้านจะเป็นเรื่องของกลุ่มชนหนึ่งๆ แต่ก็อาจได้รับการยอมรับและนิยมปฏิบัติ จากคนทั่วไป ไม่เฉพาะกลุ่มก็ได้
    วัฒนธรรมพื้นบ้านในแต่ละแห่ง ย่อมมีทั้งการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันและแตกต่างกันออกไป ในแต่ละท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับบริบทของชุมชน อาทิ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ทัศนคติ ความเชื่อ ลักษณะการประกอบอาชีพ เช่น เป็นชุมชนเกษตรกรรม เป็นชุมชนประมง เป็นต้น และยังขึ้นอยู่กับการเปิดรับอารยธรรมและความเจริญของกลุ่มชนอื่น เข้ามาผสมผสาน ระหว่างวัฒนธรรม

วัฒนธรรมท้องถิ่น
     ในแต่ละท้องถิ่นจะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ดังนี้
     ๑. วัฒนธรรมทางภาษา คนไทยทุกภาคทุกท้องถิ่นได้สืบทอดวัฒนธรรมทางภาษามาอย่างต่อเนื่อง ทุกคนใช้ภาษาไทย แต่มีสำเนียงแตกต่างกัน เรียกว่า "ภาษาถิ่น" เช่น ภาษาไทยในท้องถิ่นภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ แต่เราสามารถใช้สื่อสารทำความเข้าใจได้


     ๒. วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการกิน ในแต่ละท้องถิ่นมีการปรุงอาหารซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมานาน โดยใช้วัตถุดิบที่แตกต่างกัน และอาหารที่มีรสชาติแตกต่างกัน ตามรสนิยมของแต่ละภาค
     ภาคเหนือ      เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง ไส้อั่ว แกงโฮะ แกงฮังเล
     ภาคกลาง      เช่น ต้มยำกุ้ง น้ำพริก-ปลาทู แกงเขียวหวาน
     ภาคอีสาน     เช่น ส้มตำ ซุปหน่อไม้ ลาบ แกงอ่อม
     ภาคใต้         เช่น แกงส้ม แกงไตปลา ข้าวยำน้ำบูดู ขนมจีนปักษ์ใต้





     ๓. การละเล่นพื้นเมือง ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาถิ่น และดนตรีพื้นเมือง
     ภาคเหนือ      เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว ดนตรีพื้นเมือง เช่น สะล้อ พิณ ซึง
     ภาคกลาง      เช่น เพลงเรือง ลำตัด ลิเก เต้นกำรำเคียว
     ภาคอีสาน     เช่น หมอลำ เซิ้ง เครื่องดนตรีที่สำคัญ คือ แคน
     ภาคใต้         เช่น รำมโนราห์ หนังตะลุง รองเง็ง เพลงบอก

         



    ๔. ประเพณีพื้นเมือง
     ภาคเหนือ     เช่น ประเพณีสืบชะตา เป็นพิธีต่ออายุให้แก่ตนเอง ญาติพี่น้อง และบ้านเมืองเพื่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นสิริมงคล ประเพณีปอยน้อย เป็นพิธีบรรพชาที่จัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่มีการแห่ลูกแก้หรือผู้บวช ซึ่งจะแต่งตัวสวยงาม แบบกษัตริย์หรือเจ้าชาย เพราะถือคตินิยมว่าเจ้าชายสิทธัตถะออกบวชจนตรัสรู้ การแห่นิยมให้ลูกแก้วขี่ม้า ขี่ช้าง หรือขี่คนมีการร้องรำกันอย่างสนุกสนาน
     ภาคกลางเช่น ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นการถวายเภสัชหรือยาแด่พระสงฆ์ ในครั้งพุทธกาลเมื่อพระสงฆ์เกิดอาพาธ พระพุทธเจ้าทรงมี  พุทธานุญาตให้พระสงฆ์ฉันน้ำผึ้งได้ เพราะถือว่าเป็นยา จึงมีการถวายน้ำผึ้สืบต่อกันมาจนปัจจุบัน 
                      ประเพณีโยนบัว เป็นพิธีนมัสการหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน ชาวบ้านที่อยู่ริมฝั่งคลองสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ จะนำ ดอกบัวโยนถวายหลวงพ่อโต
     ภาคอีสาน เช่น ประเพณีค้ำโพธิ์ ค้ำไฮ เมื่อผู้ใหญ่ซึ่งเป็นที่เคารพในครอบครัวเจ็บป่วยจึงต้องทำพิธีต่ออายให้ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีแห่นางแมว เพื่อขอให้ฝนตกตามฤดูกาล
     ภาคใต้เช่น ประเพณีชักพระ เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความศรัทธาในพระพุทธศาสนาและชีวิตที่ผูกพันกับน้ำ โดยชาวบ้าน                  
 จะพร้อมใจกันอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบก แล้วลากหรือชักแห่ไปตามถนน หรือตามแม่น้ำลำคลอง 
 ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นงานประเพณีที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

ประโยชน์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น

1. เป็นเครื่องมือที่ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี สร้างความเข้าใจ และการวมพลังในการสร้างสรรค์บางสิ่งบางอย่างร่วมกันของคนในท้องถิ่น
2.
สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของกลุ่มชนที่แตกต่างกันไปตามสภาพสิ่งแวดล้อม โดยมีศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเป็นตัวกำหนด
3.
ให้ความบันเทิงแก่กลุ่มชนในสังคม เช่น การฟังเพลง การร้องเพลง การแสดงมหรสพ ตลอดจนพิธีกรรมและประเพณีในเทศกาลต่างๆ
4.
เป็นเครื่องมือให้การศึกษาและเป็นหลักฐานอันสำคัญยิ่งของชีวิต ที่ทำหน้าที่อบรมคนในสังคมให้รู้จักรับผิดชอบ ตลอดจนช่วยปลูกฝังคุณธรรมให้แก่คนในชุมชน
5.
เป็นเครื่องฝึกพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคมให้เยาวชนทั่วไป
6.
เป็นเครื่องมือในการควบคุมทางสังคม เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่จำต้องอยู่ร่วมและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ภายใต้ระเบียบแบบแผนและกฏเกณฑ์อันเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันในสังคมนั้น


ความสำคัญของวัฒนธรรมท้องถิ่น

             วัฒนธรรมท้องถิ่น คือ วิถีชีวิตของคนในแต่ละชุมชน เป็นมรดกสืบทอดกันมา และทุกคนในท้องถิ่นย่อมมีความภาคภูมิใจในการเป็นเจ้าของร่วมกัน (ก่อให้เกิดความรักความหวงแหน) โดยมีศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นเป็นตัวบ่งชี้ความสำคัญของคนในสังคมซึ่งสืบทอดกันมาช้านาน
  

ทีมา http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter4-7.html
          https://sites.google.com/site/thekhnoloyisansnthes1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ภาษาถิ่นเเละวัฒนธรรมถิ่น

                                  ภาษาถิ่น เ ป็นภาษาย่อยที่ใช้พูดจากันในท้องถิ่นต่าง ๆ  ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมาย ...